Monday, January 11, 2010

เคล็ดลับ การจดบันทึก

พอดี เปิด search หาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง tools ต่างๆ ในการทำงานเอกสาร และเทคนิค ที่อยากบันทึกเก็บไว้

จากเวบนี้ –> http://www.olrepublic.com/career_list.asp?topicid=14

 

ขอบันทึกไว้หน่อย

 

เคล็ดลับ 7 ข้อสำหรับการจด Memo


           1. จดแบบ 5W3H

               01.WHAT・・・ต้องทำอะไร(Goal และ Objective)
               02.WHEN・・・เมื่อไหร่ (กรอบเวลาทำงาน)
               03.WHERE・・・ที่ไหน ไปไหน
               04.WHO・・・ใครหรือกับใคร(ผู้รับผิดชอบ、ผู้เกี่ยวข้อง、ชื่อลูกค้า)
               05.WHY・・・ทำเพื่ออะไร(เหตุผลในการทำ)
               06.HOW・・・อย่างไร(วิธีการ、ขั้นตอนการทำ)
               07.HOW MUCH・・・เท่าไหร่(งบประมาณ)
               08. HOW MANY ・・・เท่าไหร่(ปริมาณหรือจำนวนต่างๆ)
           2. จดทันที            โดยเฉพาะเวลานัด สถานที่ เพื่อป้องกันลืมหรือผิดพลาด
           3. จดแค่ประเด็น    จดเป็นประโยคสั้นๆ เฉพาะส่วนที่สำคัญ
           4. จด1แผ่น 1เรื่อง กระดาษแผ่นเดียวจดปนเปหลายเรื่องวันหลังกลับมาดูจะงง 
                                        ลองจดแยกเรื่องละแผ่น
           5. ใส่ใจตัวเลข       ตั้งใจฟังตัวเลขให้ดี ไม่ว่าจะวันเวลาหรือจำนวนเงิน 
                                        แหม่.. Budget มีเลขศูนย์เกินมาตัวหล่ะยุ่งเลย
           6. จดเลขให้อ่านง่าย ไม่ว่าใครดูก็เข้าใจได้ตรงกัน
           7. เก็บให้เข้าที่      จดเสร็จอย่าลืมเก็บให้เข้าที่ อย่าวางทิ้งไว้ เพราะนอกจากจะหลงลืมหรือหาย 
                                       อาจจะมีข้อมูลสำคัญอื่นๆ

 

 

 

แต่แค่การจดโดยใช้ 5W2H อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ
เพราะเวลาประชุมคนโน้นพูดทีคนนี้พูดที ไม่มีการเรียบเรียงให้เข้าใจได้ง่ายๆ แม้แต่เจ้านายหรือลูกค้า
ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เรียบเรียงให้ดีก่อนพูด เรื่องที่พูดโดดไปโน่นมานี่ จนบางทีคนพูดเองยังงง?

 

 

ดังนั้นต้อง…

 

 

เข้าใจโครงสร้างรวมหรือภาพรวมของเรื่องที่จะคุยกันก่อนและนึกภาพนั้นอยุ่ในหัวเวลาที่ฟัง



     คุยกันเรื่องนี้ทำไม? (เข้าใจวัตถุประสงค์)
     ตอนนี้ เรื่องที่พูดอยู่ตรงไหนของภาพรวม (เข้าใจจุดที่พูด)
     แล้ว A=C หรือ A --> B --> C (เข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งที่พูด)
     แบบนี้ก็จะเริ่มจับประเด็นเรื่องที่พูดกันได้

    แต่ถ้ายังงงอยู่ก็ต้อง Confirm
    ถามไปเลยว่าตอนนี้หมายความอย่างที่เราเข้าใจรึปล่าว? จะได้ชัดเจนดี
    บางทีอาจจะมีคนสงสัยอย่างเราอยู่ก็ได้

    จากนั้นอย่าลืมสรุปสั้นๆ

    ที่เป็นกันบ่อยๆ ก็คือ เวลาฟังเหมือนจะเข้าใจ แต่ถ้าให้เล่าจากปากตัวเอง...ทีนี้ชักงง!!
    ดังนั้นลองสรุปสั้นๆ กันอีกทีเป็นภาษาของเราเอง จะได้เช็คความถูกต้อง ถ้าให้ดีลอง Comment
    ความคิดเห็นเพิ่มเติมไปด้วย

    อีกอย่างที่ต้องระวังก็คืออย่าก้มหน้าก้มตาจด โดยเฉพาะน้องใหม่ที่ชอบลืมว่าห้องประชุมไม่ใช่ห้อง
    Lecture การก้มหน้าก้มตาจดจะทำให้เรามองแต่กระดาษ ขาด Eye Contact และไม่สามารถดึง
    สิ่งที่คนพูดกำลังอยากจะสื่อออกมาได้เต็มที่

จดแค่ประเด็นเท่าที่จำเป็น
    พยายามก้มลงจดให้น้อยที่สุด แต่ถ้าใครไม่ชินลองเตรียมเขียนเอาไว้ก่อน
    ว่าเรื่องอะไรบ้างที่จำเป็นต้องจด หรือคำไหนที่ใช้กันบ่อยๆ ลองเขียนเป็นตัวย่อแบบของเราเอง
    เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะพอช่วยได้

 

 

 

การบันทึกการประชุม

 

1. บันทึกเนื้อหาให้ถูกต้องและแม่นยำที่สุด ในขอบเขตเท่าที่ทำได้ และ เรียบเรียงออกมาให้เข้าใจได้ง่าย
2. สมมติตัวเองเป็นคนอ่านที่ไม่ได้เข้าประชุม อ่านแล้วต้องเข้าใจเรื่องที่ประชุมกันได้เลย ในเวลาสั้นๆ
   ไม่ต้องอ่านซ้ำ(อย่างน้อยอ่านแล้วก็”รู้สึกว่า” เข้าใจอารมณ์)  
3. ใช้เวลาในการทำให้สั้นที่สุด อย่าเสียเวลากับการทำ Minutes
4. เตรียมเรื่องที่คิดว่าต้องเขียนใน Minutes หรือเรื่องที่คิดว่าคนอ่านต้องการรู้เอาไว้ในใจ และ
   จับประเด็นไว้ตั้งแต่ตอนอยู่ในห้องประชุม

Temporary Post Used For Theme Detection (8cffce6d-8827-4803-bc80-23257e358167 - 3bfe001a-32de-4114-a6b4-4005b770f6d7)

This is a temporary post that was not deleted. Please delete this manually. (411987d1-99d2-4644-ba6d-0e6a29a2dbc0 - 3bfe001a-32de-4114-a6b4-4005b770f6d7)

Tuesday, September 15, 2009

COFDM & RF Moudulation ฉบับย่อ

การมอดูเลตสัญญาณ คือ การผสมสัญญาณข้อมูล (data) ที่มีความถี่ต่ำกว่า เช่น…

การมอดูเลตสัญญาณ คือ การผสมสัญญาณข้อมูล (data) ที่มีความถี่ต่ำกว่า เช่น 10/100 MHz ใส่ลงในสัญญาณ Carrier ที่มีความถี่สูงกว่า เช่น 2.4 GHz โดย ความถี่ของสัญญาณ Carrier เท่านั้นที่ถูกส่งออกไปในอากาศ โดยมีข้อมูลขี่ไปบนสัญญาณ Carrier นั้นๆ

ข้อดี ของการใช้ความถี่สูงเป็น Carrier เพราะ ช่องสัญญาณกว้างกว่า และใช้เสาสัญญาณที่สั้นกว่า (ความถึ่ยิ่งสูงความยาวคลื่นยิ่งสั้น) ฯลฯ

การ MOD แบ่งได้เป็น 3 ประเภท

1.Amplitude Modulation (AM)

2.Frequency Modulation (FM)

3.Phase Modulation (PM)

 

Amplitude Modulation (AM)

Mod สัญญาณ Anolog

image

Amplitude Shift Keying (ASK)

Mod สัญญาณ Digital

image

image

 

Frequency Modulation (FM)

Mod สัญญาณ Anolog

image

 

Frequency Shift Keying (FSK)

Mod สัญญาณ Digital

image

 

Phase shift keying (PSK)

Mod สัญญาณ digital ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทาง Digital ได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมที่สุด

image

 

Quadratic Phase shift keying (QPSK) (ใช้ใน 802.11b)

ในการ Mod 1 ครั้ง แทนที่จะ ใส่แค่ 0 หรือ 1 เราสามารถ

00, 01 ,10, 11 ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น 4 เท่า หรือ มากกว่า

image

image

 

Amplitude & Phase shift keying (APK)

ถ้าใช้ทั้ง Amplitude และ Phase ก็จะได้ bandwidth มากขึ้นไปอีก

(ในรูปด้านล่างแสดง APK แบบ 8 code 000, 001, … , 111)

image

 

16-QAM (คือ Amplitude & Quadratic Phase Shift Keying)

ใช้ทั้ง Amplitude และ Phase โดยจะได้ bandwidth มากขึ้นไปถึง

16 code (4 bit = 0000, 0001, … , 1111)

 

64-QAM (คือ Amplitude & Quadratic Phase Shift Keying)

ใช้ทั้ง Amplitude และ Phase โดยจะได้ bandwidth มากขึ้นไปถึง

64 code (6 bit = 000000, 000001, … , 111111)

 

แต่การ Mod แบบนี้ (16,64 QAM) มี ความถี่ ที่ใช้ในการ Mod ชิดกันมาก จึงสามารถเกิด error จาก Noise ได้ง่าย เช่น กรณี Multipath Interference

image

image

 

ในปัจจุบัน มีระบบ COFDM ซึ่งสามารถส่งสัญญาณ RF ได้ในลักษณะ

Near Line of sight (NLOS) คือสามารถสะท้อนสัญญาณ โดยใช้ ตึก หรือภูเขาไปเปรียบเสมือน การกระทบชิ่ง ไปยังผู้รับปลายทางได้ แม้เครื่องส่ง และเครื่องรับ จะไม่ได้ติดตั้งแบบ Line of sight

 ofdm_multipath

COFDM คืออะไร…

FDM (Frequency Division Multiplexing) การมัลติเพล็กความถี่สัญญาณ

โดยปกติ เราจะประยุกต์ใช้ Modulator ชนิดต่างๆ โดยเพิ่มการจัดการด้าน การเลือกใช้ Carrierหลายๆความถี่ (Multi Carrier)

image

 

OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing)

คือการ Mod ที่ประยุกต์ใช้ Modulator ชนิดต่างๆ โดยใช้Carrier หลายๆความถี่ (Multi Carrier) ที่ไม่สามารถกวนกันเอง (orthogonal frequency)

เช่น การใช้ QPSK ที่ ย่าน 2.4 GHz จำนวน 64 channels (64 Carrier)

แต่ความถี่ที่เลือกใช้ จะถูกปรับไม่ให้เกิดการรบกวนระหว่าง channel หรือ จาก multipath Interference ทำให้ลดปัญหาของ Noise ลงไป (เช่น อาจยอมตัด Channel 2, 4 เพื่อลดการกวน แล้วปรับเลื่อน 3,5… ลงมาใกล้ขึ้น)

 

Orthogonal (สำหรับเรื่องความถี่นั้น ขอแปลง่ายๆ ว่าไม่สามารถกวนกันได้ ซึ่งจริงๆ ในทางคณิตศาสตร์ จะหมายถึงว่า มิติใดๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์กันทางปริมาณ คือถ้าค่าในมิตินึงเพิ่มขึ้น จะต้องไม่ไปเพิ่มในตัวแปรอีกมิตินึง เช่น ค่าในแกนที่ตั้งฉากกัน 90 องศา (เช่น แกนx จะเป็นเท่าไรก็ไม่เกี่ยวกับ ค่าใน แกน) ตัวแปรจริงกับตัวแปรจินตภาพ มิติของเลขจำนวนเฉพาะ เป็นต้น)

เช่น คลื่น Red, Green, Blue เป็นแม่สี (เป็น orthogonal)

Green(i) + Blue(j) ส่งไปพร้อมกัน ผู้รับจะได้ข้อมูลเป็น Yellow(k)

และสามารถแปลงกลับได้เป็น Green(i) + Blue(j) อย่างถูกต้อง

เพราะทั้งสองเป็นแม่สี และสามารถรู้ได้ว่า ผสมสีสัดส่วนเท่าใด จึงจะได้ Yellow(k)

ส่วน กรณี Non-Orthogonal

เช่น คลื่น ช่วง Red, Purple, Blue (ไม่เป็น orthogonal)

เมื่อต้นทางส่ง Red(i) + Blue(j) ออกไป

ผู้รับจะได้เป็น Purple(k) ซึ่งจะเกิดความสับสนว่าที่ส่งมา เป็น Red(i)+Blue(j) หรือ Purple(k) กันแน่

COFDM (Coded-OFDM)

คือ OFDM ที่มีการส่งสัญญาณตรวจสอบ ERROR (Forward Correction Coding) เพิ่มไปด้วย ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น

การตรวจสอบ Error ใน COFDM จะใช้วิธี Convolution บิตของdata ที่ส่งในก้อนนั้นๆ (Convolution คือ การ Integrate แบบ discrete time) ตาม วิธี Viterbi algorithm เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และปรับแก้ข้อมูลให้ถูกต้อง

ถ้านึกไม่ออก ก็ให้คิดว่า คล้ายๆ กับ การใส่ Summing Bit (odd,even) เพื่อ ตรวจสอบ error ในการส่งข้อมูล แบบ RS-232 แต่ ทำทุุก 3bits ครับ

 

[โปรดติดตามตอนต่อไป]


Wednesday, August 26, 2009

Under Vehicle Scanning (UVSS) - ระบบตรวจใต้ท้องรถอัตโนมัติ

ระบบตรวจใต้ท้องรถอัตโนมัติ

Under Vehicle Scanning (UVSS)

ระบบ UVSS

คือระบบตรวจใต้ท้องรถ โดยสามารถเปรียบเทียบ ภาพถ่ายใต้ท้องรถ และภาพถ่ายของคนขับรถ หากมีข้อแตกต่าง จะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้รักษาความปลอดภัย ผ่านทางระบบเนตเวิร์คคอมพิวเตอร์

clip_image002


ขั้นตอนการทำงานของระบบ UVSS

1. ระบบจะทำการบันทึกข้อมูลภาพถ่ายรถ และผู้ขับขี่ เข้าสู่ฐานข้อมูลก่อน โดยข้อมูลที่บันทึกจะถูกใช้ เป็นต้นฉบับสำหรับเปรียบเทียบสำหรับการตรวจใต้ท้องรถอัตโนมัติคราวต่อไป

clip_image004

2. โดยในการทำงานปกติระบบจะเริ่มต้นโดย อ่านค่าทะเบียนรถ จากกล้องวีดีโอซึ่งออกแบบมาเพื่อให้อ่านได้ทุกสภาพแสง ทั้งขณะเวลากลางคืน และขณะมีแสงสว่างมากเช่นแสงอาทิตย์สะท้อนจากทะเบียน โดยค่าทะเบียนรถนั้นจะถูกนำไปใช้เป็นคีย์ ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล

clip_image006

3. หากระบบตรวจไม่พบข้อมูลของรถดังกล่าว หมายความว่ารถคันดังกล่าวไม่เคยผ่านเข้ามายังสถานที่มาก่อน ให้ย้อนกลับไปยังขั้นตอนแรก คือให้บันทึกข้อมูลเป็นข้อมูลต้นฉบับ

4. หากระบบตรวจเจอข้อมูล จะทำการเปรียบเทียบภาพถ่ายใต้ท้องรถ ในจุดที่มีความผิดปกติ จะทำการ high light

clip_image008

5. และจะทำการเปรียบเทียบภาพถ่ายผู้ขับขี่ โดยระบบตรวจสอบใบหน้า หรือ Driver Image Comparison System (DICS) ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้น จะแจ้งเตือนไปยังศูนย์รักษาความปลอดภัย ระบบiVAC สามารถ เพิ่มเติม options ในส่วนของ การ identify ผู้ขับขี่ ที่มีความแม่นยำสูงขึ้นได้ เช่น ระบบตรวจสอบ ลายมือ หรือ ลายนิ้วมือได้

clip_image010

6. หากไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น รถคันดังกล่าวก็สามารถผ่านไปได้

สำหรับการอินทิเกรตระบบ

  1. สามารถเพิ่มระบบ License Plate Recognition สามารถตรวจสอบภาษาไทยได้

และ ใช้ระบบ Dual Camera Configuration ซึ่งจะมีวิธีการวางกล้องสองตำแหน่งเพื่อช่วยในการ เก็บภาพ ทะเบียนให้ชัดเจนที่สุด จากผลงานที่ผ่านมา สามารถ อ่านค่าทะเบียนได้ทุกสภาพแสง และทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

clip_image012

  1. ระบบกล้อง Undercarriage Scanning สามารถทำงานได้ดีกว่าระบบ Line Scan

clip_image014

การใช้วิธีเก็บภาพจาก กล้อง high speed digital area camera ถ่ายภาพผ่านกระจกหักเหแสง ที่มุม 45 องศา สามารถเก็บภาพที่ความเร็วเท่ากับ 200 frames per Second ซึ่งจะปรับและประกอบภาพถ่าย หลายๆ short เข้าด้วยกัน ได้อย่างถูกต้องตามสัดส่วน สามารถเก็บภาพรถขณะวิ่ง ตั้งแต่ 0 – 40 Km/Hr มีทั้งชนิด ติดตั้งถาวร และชั่วคราว

clip_image016

  1. สามารถ Zoom ภาพเฉพาะส่วนโดยการคลิกที่หน้าจอ Touch Screen LCD ได้ จึงทำให้พนักงานรักษาความปลอดภัย สามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
  2. มีระบบ Driver Verification และสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานระดับสูงได้ เช่นสามารถติดตั้งระบบตรวจสอบลายนิ้วมือ ระบบตรวจสอบอุณหภูมิหรือ Thermal Viewer ระบบตรวจจับวัตถุระเบิด หรือยาเสพติดได้
  3. สามารถใช้ร่วมกับ Physical Barrier ชนิดต่างๆได้

clip_image018

  1. มีความสามารถในการเชื่อมต่อ Network ทำให้ระบบรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

clip_image020


ภาพจากระบบของ Stratech (ใช้กล้อง CCD จับภาพและทำ image processing โดยใช้หลักการต่อภาพคล้ายๆ panorama algorithm)

From my experience, this is the best system on market!!

clip_image022

ภาพจากระบบที่ใช้ Line Scan Camera (คุณภาพด้อยกว่า)

clip_image024

Figure 1 กรณีขับเร็ว

clip_image026

Figure 2 ด้านหน้าของพาหะสามารถดูรู้เรื่อง (ด้านซ้ายมือ) แต่เพมื่อรถขับช้าลง ภาพจะถูกยืดออก จนดูไม่รู้เรื่อง

clip_image028

Figure 3 หากพาหนะมีการจอดนิ่ง ภาพจะดูไม่ชัด

สรุป

จากประสพการณ์ ระบบนี้จะเหมาะกับสถานที่ๆ มีความสำคัญและมีรถผ่านเข้าออกอย่างจำกัด เช่น รันเวย์ที่อนุญาตให้รถของสนามบินวิ่งบริการเท่านั้น สถานที่ราชการที่เป็นพื้นที่หวงห้าม โกดังหรือSiloที่เก็บของมีมูลค่าสูง เป็นต้น เนื่องจากรถที่ผ่านเข้าออกจะมีการทำการรีจิสเตอร์เข้าระบบไม่บ่อย ส่วนสถานที่ที่มี Visitor ผ่านบ่อยๆ การรีจิสเตอร์รถที่ประตูทางเข้าอาจจะไม่สะดวก และทำให้ระบบไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในกรณีนี้ การเสนอให้ใช้กระจกส่องใต้ท้องรถ หรือการติดตั้งกล้อง CCTV ถ่ายใต้ท้องรถ อาจเหมาะสมกว่า

อ้างอิง

www.stratechsystems.com

Wednesday, January 14, 2009
Bailey Bridge by Antz!!
Posted by Picasa
"จะถึงแล้วพวก ส่งมือมา..."
Posted by Picasa
แอบมองขบวนมด กำลังพยายามสร้างสะพาน
Posted by Picasa